โรงไฟฟ้ามีกี่ประเภทที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า

โรงไฟฟ้ามีกี่ประเภท? รู้หรือไม่? สายไฟที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มาจากแหล่งพลังงานที่หลากหลาย

สายไฟ

 

พลังงานไฟฟ้าเปรียบเสมือนกับเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงให้ทุกภาคส่วนของสังคมขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตั้งแต่บ้านเรือนที่ใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้สายไฟฟ้าเป็นตัวนำส่งกระแสไฟไปให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆในการผลิตสินค้าและบริการ ต้องยอมรับเลยว่าไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างปฏิเสธไม่ได้

ทั้งนี้ การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของพลังงาน รวมไปถึงพวกสายไฟสายเคเบิ้ล สายสัญญาณ และสายไฟคอนโทรล ต่าง ๆ ก็เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ "โรงไฟฟ้า" สถานที่ที่เปลี่ยนพลังงานจากธรรมชาติหรือเชื้อเพลิง มาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้ทั่วประเทศ ว่าเขาใช้สายสัญญาณ หรือสายไฟแบบไหน รวมไปถึงโรงไฟฟ้ามีกี่ประเภท ? แต่ละประเภททำงานอย่างไร ? ถ้าพร้อมแล้ว เราไปเก็บเกี่ยวข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของโรงไฟฟ้าที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยและทั่วโลกกันเลย

แหล่งพลังงานหลากหลาย ขับเคลื่อนไฟฟ้าสู่โรงงานสายไฟ

1.โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

เปรียบเสมือนหม้อต้มขนาดยักษ์ที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือชีวมวล มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยส่งผ่านทางสายไฟเพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้ทั่วประเทศ

โดยเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้ในเตาเผาความร้อนขนาดใหญ่ เกิดเป็นพลังงานความร้อน จากนั้นพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้จะถูกใช้ต้มน้ำจนกลายเป็นไอน้ำแรงดันสูง ไอน้ำแรงดันสูงจะพุ่งผ่านใบพัดของกังหัน ทำให้กังหันหมุน และจะแปลงพลังงานกลจากการหมุนเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งต่อมาที่สายไฟในที่สุด

หากคุณมีแพลนจะทัศนศึกษาเรื่องนี้ เราแนะนำให้ไปรู้จักกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง (ซึ่งใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง) และอีกที่คือโรงไฟฟ้าเอ็มพีเอ จ.ระยอง (ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง) และอีกหลาย ๆ ที่ในประเทศไทย เช่น โรงไฟฟ้าบางปะกง บางจาก เป็นต้น

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตไฟฟ้า แต่ก็มีแนวโน้มที่จะใช้เชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจจะได้เห็นโรงงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

2.โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

นับว่าเป็นข้อพิพาทมาอย่างยาวนาน กับประเทศไทย VS โรงงานพลังงานนิวเคลียร์ เป็นความหวัง หรือหายนะกันแน่ ซึ่งบทสรุปก็เป็นไปตามมุมมองของนักวิชาการแต่ละท่าน บางท่านก็ว่าจำเป็น และบางท่านก็ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิง

ซึ่งสาเหตุที่เป็นข้อพิพาทก็คือ กรณีศึกษาจากประวัติศาสตร์นั่นเอง เราอาจจะได้เคยได้ยินกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง กัมมันตรังสีรั่วไหล หรือที่เรียกกันว่า ‘ภัยพิบัติฟุกุชิมา’ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เกิดเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลาย กัมมันตรังสีรั่วไหล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง (โดยถ้าหากคุณอยากทราบเรื่องนี้ลึก ๆ เราแนะนำให้ไปรับชมซีรีส์เรื่อง ‘Chernobyl’ ซีรีส์ขึ้นหิ้งของ HBO GO) ทั้งหมดเป็นสาเหตุว่าควรตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยหรือไม่ ?

อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แตกต่างจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทั่วไป เพราะไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ จากการฟิชชัน หรือแตกตัว ของอะตอมยูเรเนียม มาผลิตพลังงานความร้อน และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าส่งต่อมาที่สายไฟ หรือสายเคเบิ้ลนั่นเอง

ส่วนอนาคตของโรงไฟฟ้าประเภทนี้ ด้วยเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการจัดการกากกัมมันตรังสี ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นในประเทศไทยในเร็ว ๆ นี้ก็เป็นไปได้

3.โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ลบภาพโรงงานใหญ่ ๆ เป็นตึกห้องโถงไปได้เลย เพราะโรงไฟฟ้าชนิดนี้มาในรูปแบบ ‘เขื่อน’ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นดีเลย ซึ่งจะใช้พลังงานศักย์จากน้ำที่อยู่บนที่สูง ไหลผ่านกังหันน้ำ แปลงเป็นพลังงานกล และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งผ่านสายไฟในที่สุด

ทั้งนี้เราอาจจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น กังหันน้ำแบบไหลผ่าน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ช่วยจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของชุมชนจะเป็นกุญแจสำคัญ นำพาพลังงานน้ำสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งในส่วนของภาคประชาชนเอง และภาคโรงไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

4.โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

นี่ไม่ใช่เพลงของ Sweet Mullet แต่อย่างใด แต่โรงงานชนิดนี้ก็จำเป็นที่จะต้องให้ดวงอาทิตย์สาดแสงส่องเพราะต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากดวงอาทิตย์ เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ส่งต่อมาที่สายไฟ PV1-F (H01Z2Z2-K) เป็นสายไฟสำหรับไฟ DC ออกแบบมาเพื่อระบบโซล่าเซลล์โดยเฉพาะและสายสัญญาณ (LIYCY) นั่นเอง

สำหรับหลักการทำงานอย่างละเอียดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คือการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ดังที่กล่าวไป ซึ่งเป็นอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติพิเศษ เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบ จะเกิดการแยกตัวของประจุไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) นั่นเอง

นอกจากนี้ โรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีทั้งขนาดใหญ่ เช่น บางปะอิน ทองผาภูมิ และยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประชาชนทั่วไปสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองภายในบ้านได้เลย

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาถูกลง ได้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดยั่งยืน ในอนาคตอาจจะไร้สายไฟแล้วก็เป็นไปได้

5.โรงไฟฟ้าพลังงานลม

จะใช้พลังงานบริสุทธิ์อย่างพลังงานลมเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยส่วนมากแล้วจะใช้กังหันลม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเสียงรบกวนลดลง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนการลดโลกร้อน เพราะใช้แค่กังหันลมเท่านั้น

ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว พลังงานลมเองก็มีปริมาณมหาศาล หาได้ง่าย บวกกับเทคโนโลยีกังหันลมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ค่าบำรุงรักษาต่ำ อายุการใช้งานยาวนาน น่าจับตามองมาก ๆ ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป

6.โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

‘เมืองใต้พิภพ’ เป็นอะไรที่น่าค้นหาอยู่เสมอ เพราะความร้อนจากใต้พิภพ เช่น แมกมา หินร้อน หรือน้ำพุร้อน ล้วนเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีให้โรงไฟฟ้า ซึ่งจะสูบน้ำร้อนใต้พิภพขึ้นมาบนผิวดิน แปลงพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ทำให้กังหันหมุน จากนั้นกังหันที่หมุนจะเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า สุดท้ายที่การจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไฟฟ้า หรือเก็บไว้ในแบตเตอรี่ผ่านสายไฟ สายเคเบิ้ลต่าง ๆ
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าประเภทนี้จะไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือสารพิษอื่นๆ และเป็นพลังงานหมุนเวียน เพราะความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน รวมไปถึงผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

7.โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล

จัดเป็นประเภทของโรงไฟฟ้า ตามแหล่งที่มาของเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ นำพาพลังงานสู่สายไฟได้เช่นกัน

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เศษไม้ แกลบ ฟางข้าว ชีวมวลเหล่านี้จะถูกเผาไหม้ในหม้อต้มน้ำ เกิดเป็นความร้อน และความร้อนจากการเผาไหม้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานกลผ่านกังหันไอน้ำ จากนั้นกังหันไอน้ำหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งต่อมาที่สายไฟในที่สุด

แน่นอนว่าช่วยลดปัญหาขยะมูลฝอยได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จากการขายเชื้อเพลิงชีวมวลและมลพิษทางอากาศน้อย
อินสไปร์ โปรเทค เข้าใจดีว่าระบบไฟฟ้ามีความซับซ้อน คุณเองก็ต้องการสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ เราจึงมุ่งมั่นคัดสรรสินค้าสายไฟ สายเคเบิ้ล อุปกรณ์ไฟฟ้า จากแบรนด์ชั้นนำมาตรฐานยุโรป พร้อมบริการครบวงจร ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และบริการหลังการขาย มั่นใจได้เลยว่า ระบบไฟฟ้าของคุณจะปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ใช้งานยาวนาน อินสไปร์ โปรเทค พลังงานไฟฟ้า มั่นใจได้ทุกระบบ6+++++

 


 

สนใจ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ สายไฟ สายไฟ vct สายสัญญาณ สายเคเบิ้ล ติดต่อ บริษัท อินสไปร์ โปรเทค

ที่อยู่ : 11/2 ซอยจตุโชติ 15(นาสวน-เนียมกล่ำ) แขวง ออเงิน เขต สายไหม กรุงเทพฯ 10220
สายด่วน : 087-053-0999 | Email : sales@ipt-kabel.com
Facebook Fanpage: Inspire Protech | Line : @ipt-kabel